วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

หากคุณกำลังอยากเลิกบุหรี่
















หากคุณกำลังอยากเลิกบุหรี่
ตัดสินใจเลิกบุหรี่สิ่งแรกที่คุณคิดก็คือ "ทำไมต้องเลิก(วะ)?" เหตุผลก็คือ คุณยังมีชีวิตของตัวเองที่ยังต้องคิดถึงอยู่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งทั้งปวง และยังเป็นที่รู้ๆกันดีว่าคนที่เลิกสูบบุหรี่ไปแล้วจะมีสุขภาพที่ดีกว่าคนที่กำลังสูบอยู่ ที่สำคัญควัญบุหรี่จะไม่ไปกระทบกระเทือนคนที่คุณรักให้เขารำคาญและป่วยเป็นมะเร็งแน่นอนอะไรอีกน่ะเหรอ....กลิ่นปากของคุณไงล่ะ อาจจะไม่มีใครบอกคุณก็ได้ แต่ขอให้รู้ว่ากลิ่นปากคนสูบบุหรี่มันเหม็นมากๆ ยังมีเรื่องเงินอีกนะ คิดดูสิว่าเสียเงินไปกับซองบุหรี่เท่าไรแล้ว แล้วในแต่ละปีหมดไปเท่าไร เก็บเงินไว้พาแฟนไปเที่ยวไม่ดีกว่าหรือคะคุณ สำคัญที่สุดในการเลิกบุหรี่ก็คือคุณพร้อมที่จะเลิกแล้วแน่นอน อย่าเลิกเพียงเพราะคนอื่นบอกให้เลิกหรือด้วยเหตุผลอะไรก็ตามที่แม้แต่คุณเองก็ไม่ใส่ใจ คิดเสียว่าทำเพื่อตัวเอง เวิร์คสุด!!!วางแผนการณ์เลิกบุหรี่เมื่อคิดได้แล้วถึงโทษ และคิดถึงตัวเองเพียงพอแล้ว ก็เริ่มวางแผนโดยคิดเอาไว้เลยว่าจะเริ่มวันไหน ตั้งใจให้แน่วแน่ อย่าคิดว่าวันละมวนแล้วค่อยลดลงก็ได้มันไม่ได้ผลหรอก เชื่อสิเขียนสัญญาแม้ว่าไม่ใช่ตามกฎหมาย แต่การได้เขียนสัญญาจะช่วยคุณได้มากทีเดียว ไม่ว่าจะเขียนกับเพื่อน กับครอบครัว และอย่าลืมบอกกับทุกคนรอบข้างว่าคุณกำลังเลิกบุหรี่อยู่ จงภูมิใจในสิ่งที่กำลังทำ หรือจะทำป้าย "ห้ามสูบบุหรี่" ติดให้ทั่วบริเวณบ้าน ในห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือแม้แต่ในรถขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่เขาเองก็อยากจะเลิกบุหรี่เช่นกัน การได้พูดคุยกับคนที่ทำในสิ่งเดียวกันจะเรียกกำลังใจได้เยอะเลยทีเดียว พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการที่คิดว่าจะได้ผลแก่กัน โอ้ย..แมนสุดๆจัดการกับสิ่งที่ทำให้อยากทิ้งมันไปให้หมดกับซองบุหรี่ มวนบุหรี่ โยนมันทิ้งไป รวมทั้ง ที่เขี่ยบุหรี่ ไฟแช็ค หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณคิดว่ามันเกี่ยวกัน แม้กระทั่งกาแฟ ถ้าคุณคิดว่าถ้าดื่มกาแฟเมื่อไรก็อยากเมื่อนั้น ลดกาแฟลงไปบ้างคงไม่เป็นไรกระมัง ความอดทนเพื่อตนเองและคนที่คุณรักชดเชยความยากการสูบบุหรี่เป็นนิสัยอย่างนึง ในบางครั้งคุณสูบบุหรี่เพราะประหม่าหรือเพื่อให้คุณมุ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณอาจจะชดเชยโยการกินผัก เคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอม ถ้ารู้สึกอยากมากๆให้ดื่มน้ำแก้วใหญ่ๆให้ความอยากมันหายไป และหายใจลึกๆ เพียงเพื่อทำอะไรก็ได้ที่จะได้ไม่ต้องคิดถึงมันแม้เพียงชั่ววินาทีเปลี่ยนวิถีชีวิตการเลิกสูบบุหรี่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับคุณและคุณควรจะเปลี่ยนกิจวัตรบางอย่างไปเลย หากคุณมักจะสูบบุหรี่หลังจากดื่มกาแฟในตอนเช้า เปลี่ยนมาเป็นดื่มน้ำส้มหรือทานซีเรียลแทนสิ ถ้าคุณคุ้นเคยกับการสูบบุหรี่พร้อมกับเพื่อนๆระหว่างช่วงพักก็ออกไปพักกับเพื่อนที่เขาไม่สูบบุหรี่หรือไปอยู่ในโซนห้ามสูบบุหรี่ เปลี่ยนเป็นคนใหม่ที่มีสุขภาพดีหลีกเลี่ยงไม่ต้องถึงขั้นตัดขาดกับเพื่อนที่สูบบุหรี่หรอกน่า แต่ให้คุณหลีกเลี่ยงที่จะต้องไปในสถานที่บางประเภทกับเพื่อนๆกลุ่มนี้ เช่น บาร์ ไนท์คลับ เปลี่ยนไปนั่งที่นั่งสำหรับคนไม่สูบบุหรี่ในร้านอาหาร คุณจำเป็นต้องทำเช่นนี้โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้น ใช้ตัวช่วยการพูดมันง่ายกว่าการกระทำ ดังนั้นจึงได้มีตัวช่วยสำหรับผู้ต้องการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง เช่นหมากฝรั่งนิโคติน เพื่อให้ปากไม่ว่างไปอยากบุหรี่และยังเพื่อช่วยลดปริมาณนิโคตินในร่างกายคุณด้วยความมุ่งมั่นเลิกบุหรี่ในช่วงแรกจะยากมาก ฉะนั่นความมุ่งมั่นเท่านั้นจะทำให้คุณผ่านพ้นมันไปได้ มันไม่ใช่ประเดี๋ยวประด๋าวนะ มันเป็นการเลิกแบบมาราธอนและคุณก็ต้องต่อสู้กับความคิดตัวเองเสียด้วย และมันจะง่ายขึ้นทุกวันๆให้รางวัลกับตัวเองการเลิกบุหรี่ถือเป็นก้าวสำคัญของชีวิตคุณดังนั้นคุณก็ควรให้รางวัลตัวเองได้เช่นกับความสำเร็จอื่นๆ ด้วยเงินที่คุณเคยใช้ซื้อบุหรี่นี่แหละ เงินที่ได้มาอาจจะซื้อทีวีพลาสม่าได้เชียวนะ หรือสามารถใช้เงินนี่ไปเที่ยวทะเลได้เลย แล้วคุณจะเห็นว่าบุหรี่เป็นตัวการทำให้คุณกระเป๋าแห้งได้เช่นกัน

สารพัดวิธี เลิกบุหรี่ด้วยธรรมชาติบำบัด
















เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่ว่า การจะทำให้คนที่สูบบุหรี่เลิกบุหรี่นั้นทำได้ยากแสนยาก แถมเลิกได้แล้ว ก็มีคนที่หวนกลับมาสูบใหม่อีกในสัดส่วนที่มาก ไปๆ มาๆ โดยเฉลี่ยการที่คนคนหนึ่งจะเลิกบุหรี่ได้อาจจะต้องเลิกๆ อดๆ ถึง 5-7 รอบ กว่าที่จะเลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าการการอดยาเสพติดร้ายแรงบางชนิดอย่างเฮโรอีนเสียอีกการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมของความเคยชิน ถ้าว่ากันตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์แล้ว การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมโหยหาความสุขในวัยเด็ก (Nostalgia) เนื่องจากระหว่างที่มีพัฒนาการทางจิต ทำให้พวกเขาติดอยู่ที่ความสุขทางปาก (Oral phase) เหมือนเด็กติดนมแม่ บวกกับพฤติกรรมของเด็กผู้ชายที่ติดแม่มากกว่าเด็กผู้หญิง (Odepal complex) จึงทำให้กลุ่มผู้สูบบุหรี่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงอย่างเห็นได้ชัด สรุปก็คือกลุ่มผู้ชายที่ติดบุหรี่ก็คือกลุ่มผู้ชายกลุ่มนี้โหยหาความรักจากแม่นั่นเองแต่เมื่อเติบโตขึ้น สังคมไม่ได้ยอมรับพฤติกรรมของผู้ชายที่ติดนมแม่ การหาบุหรี่มาสูบในเวลาเครียดๆ ก็เพื่อทดแทนความสุขทางปากที่มีมาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง ประกอบกับคนเรามักมีพฤติกรรมถดถอยสู่วัยเด็ก (Regression) เวลาที่เผชิญกับความเครียดที่ยากจะเอาชนะได้ ดังนั้นจึงพบอยู่เสมอๆ ว่า เวลาที่คนพวกนี้เครียด จะต้องมองหาบุหรี่มาจุดสูบระบายความเครียดดังนั้น ถ้ามีคนใกล้ตัวกำลังจะอดบุหรี่ ไม่ว่าจะอดสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ให้รู้ไว้ว่า เขาจะต้องใช้กำลังใจและความเข้มแข็งอย่างมากในการอดบุหรี่ เพราะโดยสถิติแล้ว คนที่สูบบุหรี่จำนวนมากที่มีความอยากเลิกบุหรี่ แต่ก็ยังเลิกไม่ได้เสียที การที่คนรอบข้างเข้ามาช่วยเป็นกำลังใจให้เขา จะช่วยให้การอดบุหรี่มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ความอยากบุหรี่นั้นเป็นพฤติกรรมของความเคยชิน ดังนั้น เมื่อตัดสินใจจะเลิกบุหรี่แล้วก็จงตัดให้ขาด ประเภทที่ว่า ขอลดๆ ปริมาณที่สูบลงทีละมวน 2 มวน เพื่อหวังว่าจะหยุดสูบได้ในที่สุดนั้น จากการสำรวจพบว่ามักจะล้มเหลวมากกว่าการเลิกด้วยวิธีหักดิบการเลิกบุหรี่แบบหักดิบนั้น เริ่มตั้งแต่ ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ที่ใช้สูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นไฟแช็ค ที่เขี่ยบุหรี่ไปให้หมด รวมถึงละเว้นพฤติกรรมที่ชอบทำควบคู่ไปกับการสูบบุหรี่ด้วย ถ้าจะให้ดีก็ให้งดซะ ยิ่งกลุ่มก๊วนที่เคยสูบบุหรี่ด้วยกันมาก่อน ช่วงที่ยังไม่อยู่ตัวให้เซย์บ๋ายบายไว้ช่วงหนึ่งก่อนเลย เพราะเมื่อไหร่ที่เราหรือเพื่อนฝูงที่อยู่ด้วยกันทำกิจกรรมนั้นๆ จะเป็นการกระตุ้นเตือนจิตใต้สำนึกของเราให้อยากบุหรี่ขึ้นมา โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับการกิน เช่น บางคนกินเบียร์ หรือจิบกาแฟ พร้อมๆ กับการสูบบุหรี่เป็นประจำ จากการสัมภาษณ์คนที่เคยเลิกบุหรี่จะบอกว่ากินเมื่อไหร่จะรู้สึกจืดชืดเหมือนขาดอะไรไปอย่าง พาลจะควักบุหรี่ขึ้นมาสูบให้ได้เพื่อไม่ให้ว่างจนจิตวุ่นวายระหว่างอดบุหรี่ มีข้อแนะนำว่าให้หากิจกรรมคลายเครียดอย่างเช่น การออกกำลังกาย ทำซะ หรือใช้วิธีดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับนิโคตินออกจากร่างกาย ทำให้อาการอยากบุหรี่หายไปได้เร็วขึ้นอีกวิธีทางธรรมชาติบำบัดที่ลดอาการลงแดงจากการเลิกสิ่งเสพติดได้ดีก็คือ การฝึกชี่กง มีงานวิจัยในผู้เสพเฮโรอีนที่ถูกส่งมาบำบัด กลุ่มหนึ่งไม่ทำอะไร, กลุ่มหนึ่งให้กินยาเลิก, อีกกลุ่มหนึ่งให้ฝึกชี่กงเพียงอย่างเดียว จากการตรวจวัดระดับสารเฮโรอีน พบว่า กลุ่มที่ฝึกชี่กงนั้นสามารถขจัดอนุพันธุ์ของเฮโรอีนออกจากตัวได้เร็วที่สุด นอกไปจากนั้น อาการลงแดงที่เกิดระหว่างการบำบัด พบว่ากลุ่มที่ฝึกชี่กงมีอาการลงแดงเพียง 4-5 วันเท่านั้น เทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วต้องใช้เวลาเกือบ 10 วันกว่าที่อาการลงแดงจะหายไป ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รักษาด้วยยาเลิกที่อาการลงแดงจะหายไปภายใน 7 วัน ก็ยังพบว่ากลุ่มที่ฝึกชี่กงยังให้ผลลดอาการลงแดงได้ดีกว่าการกินยาเสียอีก ในคนสูบบุหรี่ก็เช่นกัน ถ้าได้ฝึกชี่กงควบคู่ไปกับวิธีการอดบุหรี่อื่นๆ ก็จะช่วยให้ผ่านช่วงอยากบุหรี่ไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้นอีกวิธีหนึ่งที่นำมาช่วยในการเลิกบุหรี่ได้ก็คือ การใช้ชาชนิดหนึ่ง มีชื่อว่า ชาหญ้าดอกขาว ชานี้มีวิธีใช้ก็คือ ให้ถ้าระหว่างที่อดบุหรี่อยู่ อยากสูบบุหรี่ขึ้นมามากๆ จนทนไม่ไหวแล้ว ก่อนที่จะใจแตกไปสูบบุหรี่ ให้ชงชาหญ้าดอกขาวดื่มสักแก้วนึงก่อน เมื่อดื่มเข้าไปแล้ว ถ้าสูบบุหรี่ตามมันจะไปทำให้ความรู้สึกจากการสูบบุหรี่ไม่เหมือนที่เคย จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยใช้ ส่วนใหญ่มักกล่าวว่า "มันสูบแล้วไม่อร่อยเหมือนเดิมน่ะหมอ"นอกเหนือไปจากนั้น บางคนที่ไม่มั่นใจว่าจะทำการอดบุหรี่ได้เองหรือเปล่า หมอก็จะใช้วิธีการ ฝังเข็ม ช่วยด้วย โดยจะมีจุดฝังเข็มบางจุดที่สามารถลดอาการอยากสูบบุหรี่ขณะอดบุหรี่ได้ ก็จะช่วยให้การอดบุหรี่ไม่ทรมานมากเท่าไหร่เนื่องจากเป็นพฤติกรรมของจิตใต้สำนึก บางคนที่มีอาการอยากบุหรี่มากๆ ถ้าจำเป็น เราอาจใช้วิธีการ สั่งจิตใต้สำนึก เพื่อลดความอยากบุหรี่ระหว่างที่อดบุหรี่ช่วยด้วยอีกแรง ก็พบว่าช่วยลดอาการอยากบุหรี่ได้ดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งในขณะที่อดบุหรี่อยู่นั้นตัวผู้อดเองต้องร่วมมือ อาจมีการจด บันทึก จำนวนบุหรี่ที่เราสูบ อาการแสดงเมื่อหยุดสูบ ช่วงเวลาที่เกิดอาการมากที่สุด รายงานให้หมอทราบก็จะช่วยบรรเทาอาการศีลแตกได้มากทีเดียวอย่างไรก็ดี บทสรุปที่สำคัญที่สุดของคนที่จะเลิกบุหรี่ได้ก็คือ จะต้องมีความเข้มแข็งของจิตใจ คนที่ถูกบังคับให้เลิกบุหรี่ คนพวกนี้ถึงจะใช้วิธีการใดก็ยังกลับไปสูบบุหรี่อยู่ดี แต่ถ้าคนไหนที่ตัดสินใจได้เด็ดขาดว่าจะเลิกแล้ว วิธีการหลายๆ วิธีทางธรรมชาติบำบัดสามารถช่วยท่านได้ครับ.

วิธีเลิกบุหรี่อย่างนุ่มนวล
















วิธีเลิกบุหรี่อย่างนุ่มนวล
ถ้าคุณอยากเลิกสูบบุหรี่โดยไม่ต้องหักใจหยุดสูบทันทีใดก็ลองหันมารับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น ผัก ผลไม้ ในปริมาณมากๆ เพราะโปตัสเซียมและแมกนีเซียมใน ผัก-ผลไม้ จะช่วยขับนิโคตินออกจากร่างกายอย่างช้าๆ ทีละน้อยคุณก็จะไม่โหยหาบุหรี่มากนัก แต่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น หมู วัว ปลา และไข่ จะยิ่งทำให้คุณอยากบุหรี่มากยิ่งขึ้นเพราะอาหารดังกล่าวนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะขับนิโคตินออกจากร่างกายอย่างเร็ว จึงเป็นผลให้คุณอยากสูบบุหรี่นั่นเอง การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ รับประทานผัก ผลไม้สด ในปริมาณมากๆ และรับประทานให้ได้ทุกมื้อทุกวันเป็นทางช่วยหนึ่งที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ทรมานใจนักแถมยังได้สุขภาพที่ดีที่สุดอีกต่างหากนอกจากนี้ยังขอเสนอเคล็ดลับที่จัดว่าหลายคนใช้ได้ผลมาแล้วสิ่งสำคัญที่สุดของการเลิกบุหรี่คือความเชื่อมั่นในตนเองอย่าละทิ้งความพยายามเด็ดขาด วิธีการเลิกก็ไม่จำเป็นต้องทำตามกฎเกณฑ์ใดๆ แต่คุณสามารถเลือกวิธีตามแบบที่คุณทำได้ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มีวิธีใดอยู่ในใจก็อาจนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปปรับใช้
1. ตั้งต้นกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ พยายามหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่คุณมีภาระต้องรับผิดชอบ เช่น ช่วงสอบ ช่วงที่ต้องไปงานเลี้ยงหรืองานสังคมเพราะอาจมีแรงจูงใจทำให้ไม่สามารถเลิกได้ความที่ตั้งใจไว้
2. พยายามหลีกเลี่ยงกาแฟ มีการศึกษาออกมาว่าคาเฟอีนกระตุ้นให้อยากนิโคตินได้
3. พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด
4. การสีฟันบ่อยๆ ช่วยให้ลืมกลิ่นยวนใจของบุหรี่ได้
5. การนวดที่ดีจะช่วยให้ผ่อนคลาย และนึกถึงบุหรี่น้อยลง
6. ชวนเพื่อนๆ ที่สูบบุหรี่มารวมตัวเลิกบุหรี่พร้อมกัน การแข่งขันถือเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่ง
7. ออกกำลังให้มากขึ้น เช่น เล่นกีฬา หรือเดินขึ้นบันไดไปห้องเรียนแทนการขึ้นลิฟต์
8. ทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสูบบุหรี่ เช่น ที่เขี่ยบุหรี่ ไฟแช๊ค
9. ทำความสะอาดที่พักไม่ให้มีกลิ่นบุหรี่ ทั้งในห้องน้ำ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ฯลฯ
10. ช่วงแรกของการเลิกบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสมาคมกับผู้ที่ยังสูบบุหรี่อยู่

วิธีเลิก…บุหรี่

















ขั้นตอนการเลิกบุหรี่ เป็นขั้นตอน ที่สำคัญที่สุด ที่คุณต้องเลือกวิธี ของตัวเอง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีคือ วิธีลดลง อย่างช้าๆ และแบบหักดิบ

วิธีลดลงอย่างช้าๆ

วิธีนี้ทำโดยค่อยๆลดปริมาณบุหรี่ที่สูบลง จะทำให้ปริมาณนิโคติน ในเลือดลดลง อย่างช้าๆ ไปด้วยเช่นกัน อาการขาดนิโคติน จึงไม่รุนแรง

การใช้วิธีนี้ ทำให้โดยสูบน้อยลง กว่าเดิมวันละมวน สองมวน จนกระทั่ง เลิกสูบไปเลย แต่วิธีนี้ ต้องตั้งกฏเกณฑ์ให้ตนเอง และทำตามอย่าง เคร่งครัด พยายามห้ามใจตัวเอง จากพฤติกรรม ที่เคยชิน แรงบัน ดาลใจ อย่างหนึ่ง ที่จะทำให้ตัวเองมีกำลังใจมากขึ้นคือ การจดบันทึก เริ่มตั้งแต่วันที่ลดปริมาณบุหรี่ลง หรือวันแรก ที่หยุด สูบบุหรี่ บันทึก ทุกวันให้เห็นความตั้งใจ จนกระทั่ง วันที่ตังเอง หยุดบุหรี่ ลงได้อย่าง สิ้นเชิง

วิธีหักดิบ

คือตั้งใจหยุดสูบบุหรี่อย่างฉับพลัน เป็นวิธีของคนใจเด็ด และท้าทาย อย่างมาก แต่หากทำสำเร็จ จะเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง

การเลือก วิธีนี้จะพบว่า ระดับนิโคตินในเลือดลดลง อย่างฮวบฮาบ อาจมีอาการขาดนิโคติน ที่รุนแรงได้ ซึ่งถ้าอดทนได้ อาการเหล่านี้จะ หายไป ภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์

เมื่อคุณเลือกวิธีที่ดีที่สุด สำหรับตัวเองได้แล้ว สิ่งต่อมาที่ต้องเตรียมคือ การรับมือกับอาการ ขาดนิโคตินในระยะสัปดาห์แรกๆ คุณต้องปรับตัว อย่างมาก และต้องเอาชนะ มันให้ได้ แก้ได้โดยหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ ปลีกตัวไปจากลุ่มคน เพื่อจัดการ กับตนเองให้เรียบร้อย ผู้อื่นจะได้ ไม่โดนลูกหลง จากความหงุดหงิด ของคุณเข้าให้

อาการที่คุณต้องเจอเมื่อเลิกบุหรี่

มีหลายคนที่ตั้งใจเลิกบุหรี่ แต่กลับยก ธงขาว ยอมแพ้ศิโรราบให้กับ อาการข้าง เคียง ที่เกิดขึ้น เพราะด้วยเหตุผลเดียวคือ ทรมานสุดๆ

· นอนไม่หลับ เป็นความทรมาน อย่างหนึ่งที่ใครๆ ก็เป็นกันได้ ไม่เฉพาะคน หยุดบุหรี่เท่านั้น เพราะมีสาเหตุ มากมายที่ ทำให้นอนไม่หลับ คิดเสียว่า เป็นโอกาสดีเสียอีก ที่จะใช้เวลานั้น อ่านหนังสือ ที่อยากอ่าน แต่ไม่มีเวลา อ่านเพลินๆ จะหลับไปเอง หรือไม่ก็ไปนอนแช่น้ำอุ่นสักครู่ ให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย จะรู้สึก ง่วงโดยอัตโนมัติ บางคนอาจใช้วิธีนั่งสมาธิก็ช่วยได้ บางทีการ ดื่มนมอุ่นๆ สักแก้ว ก็ใช้ได้ผล แต่ที่แน่ๆ อย่าหันไปพึ่งยา นอนหลับ เป็นอันขาด เพราะอาจจะเลิกบุหรี่ได้ แต่หันมาติด ยาแทน แบบนี้ไม่ดีแน่

· หิวเก่งคนที่เลิกบุหรี่จะหิวบ่อยขึ้น อยากอาหารมากขึ้น โดยเฉลี่ยของ คนสูบบุหรี่ น้ำหนักตัวของเพิ่มขึ้น ไม่ควรตกใจ ถ้ากลัวอ้วน ต้องรับประทาน เพียงนิดหน่อย ให้หายอยาก ก็พอแล้ว

· รู้สึกล้าใหม่ๆอาจจะรู้สึกล้าเหนื่อยหน่าย ไม่อยากทำอะไร ซึ่งเป็นผลมา จากร่างกาย ขาดการกระตุ้น ของนิโคติน ที่เคยได้รับเป็นประจำ วิธีแก้คือ ออกกำลังกายให้มากขึ้น ให้เหนื่อยมีเหงื่อออก อาบน้ำ กินอาหารประเภท ผักสดผลไม้ให้มากๆ และนอนไม่หลับ พักผ่อนให้เพียงพอถ้าตั้งใจจริงที่จะมุ่งสู่ชีวิตใหม่ รับรองว่าคุณสามารถผ่านพ้น ช่วงนี้ไป ได้แน่นอน เพราะ ตอนเริ่มสูบยังสูบจนติดง่ายๆเลย ถึงทีจะเลิกสูบ จงอย่าคิดว่าเป็นเรื่องลำบากยากเย็น ไม่มีสิ่งใดยากเกินใจ ของตนเอง หรอก

จะห้ามใจยังไง ไม่ให้อยากสูบอีก

ระหว่างที่คุณ กำลังมุ่งมั่น ในการเลิก สูบบุหรี่ คงปฏิเสธ ไม่ได้ว่า อาจเกิด ความอยาก ขึ้นมา ถ้ามีอาการ อยาก ให้ลอง ใช้ วิธีเหล่านี้ดู เพราะผ่าน การพิสูจน์ มาแล้วว่า ได้ผล

· ใช้หมากฝรั่ง ลูกอม หรือจิบชา เมื่อรู้สึกเปรี้ยวปาก หากิจกรรม ทำ อย่าให้จิตใจหวนนึกถึงบุหรี่

· อยู่ห่างๆจากสิ่งยั่วยวนใจ หลีกเลี่ยงสถานการณ์ หรือบุคคล ที่กระตุ้นให้คุณอยากบุหรี่

· ระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมันเป็นตัวกระตุ้น ให้คุณลด ความเข้มแข็งลง ซึ่งอาจจำต้องงดเที่ยวกลางคืน หรือสังสรรค์สัก ระยะหนึ่ง รวมทั้งงดพบเพื่อนที่สูบบุหรี่ แบบมวนต่อมวน ต่อหน้าคุณด้วย

· สูดหายใจเข้าลึกๆ ไม่น่าเชื่อว่า วิธีง่ายๆอย่างการหายใจ เข้าออกนี้ เป็นวิธีสำคัญ ในการรับมือ ความอยากบุหรี่ได้ผล ทีเดียว คล้ายกับการทำสมาธิ คือเวลาหายใจเข้า ให้ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อ ท้อง พร้อมกับหายใจ เอาอากาศดีๆเข้าไปลึกๆ ในปอด เท่ากับรับเอาความเข้มแข็งและความสงบเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นหายใจออกอย่างช้าๆ ราวกันขับสารพิษ และความไม่ สบาย ต่างๆ ออกจากตัวคุณ

ต้องฝึกการใช้วิธีเหล่านี้ไว้ให้คล่อง จะช่วยให้คุณดำเนินชีวิต แบบปลอดบุหรี่ ไปได้ตลอดรอดฝั่ง

อาการขาดนิโคตินนั้นจะรุนแรงที่สุด แค่ช่วงสัปดาห์แรก เท่านั้น แต่ต้องยอมรับความจริง และเตรียมความพร้อม อย่างหนึ่งคือ สำหรับบางคน กว่าจะรู้สึกสบายๆ โดยปราศจาก นิโคติน ได้อย่างสิ้นเชิง อาจต้องใช้เวลา ถึงหนึ่งปีทีเดียว

วิธีการเลิกบุหรี่

















กรรมวิธีในการเลิกเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวคุณ เลิกทันที เป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุด คนส่วนใหญ่เลิกได้ด้วยวิธีนี้ ลดจำนวน เป็นวิธีค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป โดยตอนแรกลดจำนวนการสูบเหลือ 5 มวนต่อวัน หรือลดจำนวนลงครึ่งหนึ่ง หรือเริ่มสูบบุหรี่มวนแรกของวันให้ช้าลง 1 ชั่วโมงทุกๆ วัน ถ้าคุณเลือกวิธีลดจำนวน ต้องกำหนดวันเลิกเด็ดขาดภายในสองสัปดาห์ หลังจากวันเริ่มต้น เข้าใจอาการอยากบุหรี่หรืออาการถอน อาการถอนจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของคุณขาดนิโคตินและสารเคมีอื่นๆ ในควันบุหรี่ ขอให้คิดเสียว่านี่คืออาการของการปรับร่างกายในทางที่ดีขึ้น อาการบางอย่างจะหายไปภายใน 2-3 วัน และส่วนใหญ่จะหมดไปเมื่อผ่านไป 2 หรือ 3 สัปดาห์ อาการทางอารมณ์ เช่น เครียด จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางร่างกายของคุณในขณะที่นิโคตินถูกขจัดออกจากร่างกายอาการถอนยา ประกอบด้วยความอยากสูบ แต่ละครั้งจะไม่กินเวลานาน แต่ความรู้สึกจะรุนแรง เมื่อผ่านพ้นไป ความอยากจะเกิดน้อยครั้งลง อาจปวดศีรษะเป็นครั้งคราว ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ ท้องผูก ท้องเสีย คลื่นไส้ เจ็บคอ น้อยรายที่จะมีอาการเกิน 4 วันพฤติกรรมการนอนหลับเปลี่ยนแปลง การฝันไม่ปกติ แต่คนส่วนใหญ่จะหลับสบายขึ้นการไอ แปลว่า เส้นขนปัดในหลอดลมของคุณฟื้นขึ้นมาทำงานอีกครั้งและกำลังกำจัดทาร์และเสมหะ ส่วนอาการหงุดหงิด เครียด หดหู่ จะหมดไปภายใน 1 ถึง 3 สัปดาห์เจริญอาหารมากขึ้นชั่วคราว และอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (ใจเย็นหน่อย เลิกบุหรี่ให้ได้ก่อนแล้วค่อยๆ ลดน้ำหนักภายหลัง)การจัดการกับอาการถอนยา วันแรกๆ จะเป็นวันที่ยากที่สุด เผชิญหน้ากับความอยาก ผู้สูบบุหรี่น้อยคนนักที่จะเลิกได้โดยไม่รู้สึกอยาก ถ้าจะเลิกได้ คุณต้องเรียนรู้ที่จะมีชีวิตผ่านพ้นความรู้สึกนี้ไปจนกว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำให้เผชิญกับความอยากสูบบุหรี่กลยุทธ์ที่ต้องจำ ถ่วงเวลาไว้ หายใจลึกๆ ช้าๆ ดื่มน้ำสักแก้ว แล้วเปลี่ยนอิริยาบท- ถ่วงเวลา (Delay) เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือจุดบุหรี่ ให้ดูนาฬิกา เมื่อ 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา- หายใจลึกๆ ช้าๆ (Deep breath) หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3-4 ครั้ง- ดื่มน้ำ (Drink water) ค่อยๆ จิบน้ำ และอมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ- เปลี่ยนอิริยาบท (Do something else) อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบทไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือไปหาเพื่อนฝูง เพียงมวนเดียวก็มีผลร้าย ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ คุณต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้การเลิกสูบบุหรี่ คือการต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของคุณเอง อดเป็นวันๆ ไป พยายามตั้งใจให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ จำบุหรี่มวนแรกของคุณได้ไหม? บางทีอาจจะทำให้คุณเวียนหัวไม่สบายก็ได้ ทำดีต่อร่างกายของคุณให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน ชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า เครื่องดื่มเหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีนเข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลงหรืออ่อนลง หรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือไดเอ็ดโคล่าที่ไม่มีคาเฟอีน เตือนสติตนเอง เอาเหตุผลที่เลิกบุหรี่ออกมาดู และคิดถึงสิ่งที่อยากทำในฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่ หรือเอารายการตรวจสอบการตัดสินใจที่จะเลิกออกมาดู ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น อย่าเกรงใจเมื่อผู้อื่นยื่นบุหรี่ให้คุณ คุณมีสิทธิปฏิเสธบุหรี่โดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เมื่อมือว่าง พยายามใช้มือทำโน่นทำนี่อย่าปล่อยให้มือว่าง เอากุญแจมาขยำ หรือนับลูกประคำก็ได้การสูบบุหรี่กับสิ่งเสพติดอื่นๆ มีรายงานการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่จะไม่สามารถต้านทานความอยากสูบบุหรี่ได้เมื่อดื่มเหล้าเข้าไป เหล้าและสิ่งเสพติดอื่นๆ จะทำให้คุณมีความอดทนต่อความอยากสูบบุหรี่ได้น้อยลง ดังนั้น ขอให้พยายามหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติดอื่นๆ สัก 2-3 สัปดาห์รายการตรวจสอบการเลิก ฉันต้องตัดสินใจว่าจะเลิกแบบทันทีหรือเลิกแบบค่อยๆ ลดอาการถอนยาเป็นสิ่งที่ดี เป็นการแสดงว่า ร่างกายกำลังกำจัดของเสียออกมา ฉันสามารถสู้อาการถอนยาโดยใช้ 4 กลยุทธ์ คือ ถ่วงเวลา หายใจลึกๆ ช้าๆ ดื่มน้ำซักแก้วแล้วเปลี่ยนอิริยาบท ฉันจะวางแผนเพื่อรับกับสถานการณ์และสถานที่ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ฉันจะให้รางวัลตนเอง (ยกเว้นอาหาร) ทุกครั้งที่สู้กับความอยากบุหรี่ได้ ฉันต้องจดจำเหตุผลในการเลิก เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้ปฏิเสธบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ฉันสามารถปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น โดยไม่เสียมารยาทและไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ฉันต้องไม่ปล่อยมือให้ว่าง จับปากกาเล่น จับสายโทรศัพท์ หือนับลูกปัดลูกปะคำก็ได้ แม้ว่าฉันจะดื่มเหล้า แต่ฉันจะไม่สูบบุหรี่

มาเลิกสูบบุหรี่กันเถอะ
















คำแถลงการณ์ของ อดีตขี้ยา
โดย..เริ่มจากที่เพื่อนรักคนหนึ่งชักชวนให้เลิกสูบบุหรี่โดยแนะนำให้ลองใช้ยาตัวนี้ดู Quomem (อ่านว่า โควเมม) ซึ่งเค้าเลิกมาได้เดือนกว่าแล้วนึกถึงผม เลยมาแนะนำให้ลองดู..ปรากฎว่าผมก็สามารถเลิกได้ภายใน 5 วันแรกที่กินยา โดยมีผลข้างเคียงน้อยมาก ซึ่งผมก็มาสรุปว่าที่ผมสามารถเลิกบุหรี่ได้นั้นมันเกิดจากอะไร ก็สามารถสรุปได้ว่า ยามีส่วนทำให้เราลดความอยากสูบบุหรี่ลง จากนั้นก็เป็นจิตใจที่ต้องอดกลั้นต่อความอยากที่จะสูบบุหรี่....แล้วมันก็ผ่านไปได้ด้วยดี ไม่ยากอย่างที่คิด หลังจากที่ผมสูบติดต่อกันมา 20 กว่าปีเคยคิดจะเลิกหลายครั้งก็ยังเลิกไม่ได้ซักที แต่ครั้งนี้ผมก็ชนะมันแล้ว และคิดว่าจะไม่หวนกลับไปหามันอีกเด็ดขาด (รวมทั้ง hs7ul และ hs1teu ด้วย ส่วนท่านอื่นถ้าเลิกได้แล้วก็มาแสดงตัวที่หน้า webboard ได้นะครับ) ตอนนี้มี hs1fdo e21we เข้าร่วมโครงการด้วย อาการที่พบหลังจากใช้ยา Quomem โดยใช้จากกรณีของผมเป็นตัวอย่าง อาการที่รู้สึกได้คือ เราจะรู้สึกว่าเราสูบบุหรี่ได้น้อยลงเรื่อยๆ และความอยากบุหรี่ก็จะน้อยลงเช่นกัน จนสามารถตัดสินใจทดลองหยุดบุหรี่ได้ในวันที่ 5 หลังจากใช้ยา ส่วนอาการที่เราจะกลับไปสูบมันอีกไหมนั้นอันนี้ขึ้นมันจะอยู่ที่จิตใจเราแล้วล่ะครับ แต่ขอเตือนไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าท่านคิดว่าจะเลิกจริงๆ ค่อยใช้ยานี้นะครับเพราะว่าหากท่านใช้ยาแล้วยังไม่เลิกหรือเลิกได้ไม่กี่วันแล้วก็กลับไปสูบอีกคราวนี้ยามันก็จะเอาไม่อยู่แล้วนะครับ มันต้องบวกกับกำลังใจที่เด็ดเดี่ยวของท่านด้วย จนมีผู้ที่เลิกบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "ผมได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตให้กับครอบครัวและตัวเองก็คือ...การเลิกสูบบุหรี่อย่างถาวร"

ยาที่ช่วยในการอดบุหรี่
Buppropion : Bupropion HCl 150 mg. sustain release ชื่อการค้า Quomem Tablets ุ* non-* * * nicotine รักษาอาการ Nicotine addiction- ช่วยอดบุหรี่ * Anti-Depressant ขัดขวางการ reuptake ของ Dopamine ุ * มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัวน้อย ไม่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าในช่วงของการอดบุหรี่
การใช้ : ต้องกำหนดวันที่ต้องการจะเริ่มอดบุหรี่ แล้วเริ่มใช้ยาก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจให้ก่อน 8 วัน หลังจากนั้นให้ยาต่อไปเรื่อยๆ นาน 7-9 สัปดาห์ และอาจให้นานกว่านั้นในผู้ที่มีความเสี่ยง สูงที่จะกลับมาสูบใหม่ ขนาดเริ่มต้น 150 mg. วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน และเพิ่มไปถึงวันละ 150 mg. วันละ 2 ครั้ง ควรให้มีระยะห่างกัน 8 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกินวันละ 300 mg.
ข้อห้ามใช้ : ุ ผู้ที่แพ้ตัวยา หรือส่วนประกอบในยานี้ ุ ผู้ป่วยที่มีโรคลมชัก ุ ห้ามใช้ร่วมกับ Monoamine Oxidase Inhibitors
Side Effect : อาการนอนไม่หลับ, ปากแห้ง, ปวดศีรษะ
*** จะเห็นได้ว่าการอดบุหรี่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ดังนั้นบุคคลรอบข้างมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือ ไม่ควรจะผลักดันในทางลบ เช่น ด่าว่า, ตำหนิติเตียน เพราะผู้ที่ติดบุหรี่จะรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะต้องต่อสู้กับยาเสพติดเพียงลำพัง คนรอบข้างควรให้กำลังใจและเตือนสติไม่ให้กลับไปหามัน
(1กล่องมี 6 แผงๆละ 10 เม็ด ราคาประมาณ 1500 บาทแผงละ 250 บาท ตกเม็ดละ 25 บาท) ผมว่าคุ้มนะยาผมไม่มีขายนะครับ หาซื้อตามร้านขายยาทั่วไปครับถ้าไม่มี บอกให้เค้าสั่งให้ครับ
บุหรี่…ไม่เลิกไม่ได้แล้ว
เมื่อคุณตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ คุณจะได้รับแต่สิ่งที่ดี คือ…
· มีบุคลิกดีขึ้นและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
ควันบุหรี่นอกจากจะทำให้ผู้สูบมีกลิ่นตัว กลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น ฟันเหลืองเป็นคราบแล้ว ใบหน้าของผู้สูบบุหรี่มานานระยะหนึ่งจะมีริ้วรอยลึกที่สังเกตเห็นได้ง่าย และมีผิวพรรณหมองคล้ำมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่บั่นทอนบุคลิกภาพและความมั่นใจของผู้สูบบุหรี่ทั้งสิ้น แต่ถ้าคุณไม่สูบบุหรี่ กลิ่นที่น่ารังเกียจก็จะหายไป และผิวพรรณมีน้ำมีนวลขึ้น
· เป็นการเลิกทำร้ายสุขภาพของคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูก
จากการศึกษาทางการแพทย์ พบว่าควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่ จะทำให้มีอาการป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด ทอนซิลอักเสบ หวัด ปวดบวม
· เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก
จากการศึกษาพบว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีคนสูบบุหรี่จะมีโอกาสติดบุหรี่สูงกว่าเด็กทั่วไป การสูบบุหรี่ของพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ลูก
· ไม่ต้องเสี่ยงต่อการทุกข์ทรมานจากโรคต่างๆ
ในควันบุหรี่มีสารเคมีที่เป็นพิษอยู่ถึง 4,000 ชนิด และมี 43 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง จากการรายงานทางการแพทย์ พบว่าร้อยละ 85 ของผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองเกิดจากการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นโรคที่คนไข้จะไม่เสียชีวิตทันที แต่เหนื่อยหอบจนไม่สามารถทำอะไรได้ ต้องนอนเฉยๆ และต้องให้ออกซิเจนช่วยหายใจตลอดเวลา และพบว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่มีอาการในระยะสุดท้ายจะตายภายใน 10 ปี โดยมีอาการเหนื่อยหอบตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต
· ไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ทุกวันนี้ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่วันละ 13,700 คน หรือชั่วโมงละ 570 คน สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ชั่วโมงละ 5 คน หรือปีละไม่ต่ำกว่า 42,000 คน โดยกว่าครึ่งของจำนวนนี้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร
· ประหยัดเงินในกระเป๋า
คุณสามารถมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายอีกอย่างน้อยเดือนละ 1,000 บาทหรือมากกว่านั้น ถ้าคุณสูบบุหรี่ต่างประเทศหรือสูบมากกว่าวันละ 1 ซอง
เลิกบุหรี่…ได้ผลดีทันตาเห็น
การสูบบุหรี่วันละไม่ต่ำกว่า 20 มวน ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินประมาณวันละ 200 ครั้ง และสารเคมีอื่นๆ อีกหลายพันชนิด แต่ทันทีที่ผู้สูบบุหรี่เริ่มหยุดสูบบุหรี่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้
ภายใน 20 นาที ความดันเลือดและชีพจรจะเต้นในระดับปกติ
ภายใน 8 ชั่วโมง ระดับออกซิเจนในเลือดจะคืนสู่ระดับปกติ
ภายใน 24 ชั่วโมง คาร์บอนมอนอกไซด์ที่จับแน่นอยู่กับเม็ดเลือดแดงจะถูกขจัดออกไป ปอดจะเริ่มขจัดเสมหะและสิ่งสกปรกต่างๆ จากการสูบบุหรี่ออกจากร่างกาย
ภายใน 48 ชั่วโมง นิโคตินจะไม่หลงเหลืออยู่ในร่างกาย ความรู้สึกรู้รสและกลิ่นจะกลับมา
ภายใน 3 - 4 วัน จะรู้สึกสดชื่นขึ้น ความรู้สึกรู้รสและกลิ่นจะกลับคืนมา นอกจากนั้นกลิ่นตัวก็จะปลอดกลิ่นบุหรีด้วย
ภายใน 3 สัปดาห์ การทำงานของปอดจะดีขึ้น ทำให้สามารถออกกำลังกายได้มากขึ้นกว่าครั้งที่สูบบุหรี่อยู่
ภายใน 2 เดือน เลือดจะไหลเวียนไปสู่แขนขา และจะมีกำลังวังชาเพิ่มมากขึ้น
ภายใน 3 เดือน ระบบการขจัดสิ่งสกปรกในปอดจะทำงานได้เป็นปกติ ขณะเดียวกัน สำหรับผู้หยุดสูบบุหรี่ที่เป็นชายนั้นในช่วงนี้เชื้ออสุจิจะกลับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติ และจำนวนเชื้ออสุจิก็เพิ่มขึ้นด้วย
ภายใน 5 ปี อัตราเสี่ยงต่อการเกิดอาการหัวใจขาดเลือดจะลดลงจนเกือบเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่
ภายใน 10 -15 ปี อัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากบุหรี่รวมทั้งมะเร็งปอดจะมีความใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่
เลิกบุหรี่…วิธีไหนดีที่สุด
จากสถิติพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ที่หยุดสูบบุหรี่ สามารถเลิกได้ด้วยตนเอง และผู้ที่หยุดสูบบุหรี่สำเร็จส่วนใหญ่ใช้วิธีหยุดสูบทันที ในผู้หยุดสูบโดยวิธีค่อยๆ ลดจำนวนมวนที่สูบลงนั้น ส่วนใหญ่จะไม่สามารถหยุดสูบได้
สำหรับการเลิกสูบบุหรี่แล้ว ไม่ว่าจะสูบบุหรี่มานานเท่าใด ไม่ว่าผู้สูบบุหรี่จะมีอายุมากเท่าใดหรือเกิดโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ การหยุดสูบบุหรี่ทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะมีก็แต่เพียงอาการหงุดหงิดในผู้ที่ติดมากในระยะสัปดาห์แรกที่หยุดสูบเท่านั้น สำหรับร่างกายแล้วจะดีขึ้นทันทีที่หยุดสูบ
วิธีเลิกสูบบุหรี่ที่ไม่แนะนำคือ การเลิกสูบบุหรี่พร้อมๆ กับการเสียชีวิต เวลาที่จะเลิกสูบบุหรี่ที่ดีที่สุดคือ ก่อนที่จะเกิดโรค นั่นคือก่อนอายุ 35 ปี แต่แม้เมื่อป่วยแล้ว การเลิกสูบบุหรี่ก็จะบรรเทาอาการป่วยลง
เคล็ดลับ…ในการเลิกบุหรี่
หากคุณตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ปฏิบัติดังนี้
· ทิ้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ ที่เขี่ยบุหรี่ และไฟแช็ค
· ตั้งสติให้มั่น เข้มแข็งเมื่อมีอาการหงุดหงิด
· ตัดความเคยชิน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มักจะทำร่วมกับการสูบบุหรี่ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· คุมอาหารด้วยการเลือกกินอาหารจำพวกผัก ผลไม้ให้มากกว่าเดิม
· จดจำเหตุผลที่คุณตัดสินใจเลิกบุหรี่ไว้ให้ขึ้นใจ เพื่อเป็นกำลังใจเวลาท้อ
· เตือนตนเองอยู่เสมอว่า “คุณไม่สูบบุหรี่แล้ว”
เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ คุณควรที่จะ…
· อย่าสูบบุหรี่ทันทีที่อยากสูบ คุณควรจะประวิงเวลาของการสูบบุหรี่ไปเรื่อยๆ
· ดื่มน้ำหรือล้างหน้าทันที เมื่อรู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย
· สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ และช้าๆ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง คุณจะผ่อนคลายขึ้น
· หันไปทำกิจกรรมอื่น เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากความอยากสูบบุหรี่
* ข้อมูลจาก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
ผมว่าคุณเลิกมันได้แน่นอน...ลองดูซิครับ.....................
มะเร็งปอด
ณ มุมใดมุมหนึ่งของโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดทุกๆ 30 วินาที ขณะที่ประเทศไทยมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 โดยเฉพาะมะเร็งปอดพบมากที่สุดในเพศชาย เนื่องจากภาวะของสังคมเมืองและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดเพี้ยนของคนในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเขตจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย จากสถิติพบว่าในประเทศไทยมะเร็งปอด เกิดขึ้นใหม่มากกว่า 10,000 รายต่อปี หรือเท่ากับว่าคนไทยเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นวันละ 26 ราย และใน 26 รายจะมีผู้เสียชีวิตถึง 19 ราย เมื่อเทียบมะเร็งชนิดอื่น มะเร็งปอดมีแนวโน้มสุญเสียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สมาคมโรงมะเร็งแห่งประเทศ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับ บริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จัดเสวนาเรื่อง “เรียนรู้....สู้มะเร็งปอด” โดยมี นพ.อาคม เชียรศิลป์ นายกสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย นพ.ยงยุทธ คงธนารัตน์ นายกสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย และนพ. อดิศักดิ์ ศรพรหม เลขาธิการสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปภัมภ์ร่วมกันเสวนาเพื่อร่วมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปอดเพื่อการเฝ้าระมัดระวังดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคมะเร็งปอด ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า สาเหตุของมะเร็งปอดเกิดจากบุหรี่ร้อยละ 80 ที่เหลืออาจเป็นสาเหตุอื่น ๆ รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล โดยผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน นาน 10 ปี เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด 8-10 เท่าของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะข้อมูลล่าสุดจากมูลนิธิการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ระบุว่าบุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรไทยปีละ 500,000 คน และผู้ที่ติดบุหรี่มากที่สุด ร้อยละ 70 คือ ผู้ที่มีอายุช่วง 29 ปี กลุ่มผู้สูบบุหรี่ใหม่คือ กลุ่มเยาวชนที่เริ่มทดลองตั้งแต่อายุ 13-14 ปี เริ่มติดบุหรี่เมื่ออายุ 18 ปี และเลิกสูบบุหรี่ (มีความต้องการที่จะเลิก) ก็เมื่ออายุ 41 ปีแล้ว ซึ่งจะเท่ากับว่ามีระยะเวลาในการติดบุหรี่นานถึง 23 ปี นพ. อาคม เชียรศิลป์ นายกสมาคมโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากข้อมูลของกลุ่มผู้สูบบุหรี่ใหม่ที่เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 13 ปี นั้นเป็นข้อมูลที่น่าห่วงมาก ทุกหน่วยงานจึงควรต้องร่วมกันรณรงค์โดยเฉพาะการรณรงค์ตั้งแต่กลุ่มเด็กในระดับมัธยมศึกษาที่เพิ่งเริ่มทดลองและเริ่มติดบุหรี่ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปอด ตั้งแต่เริ่มต้นว่า มะเร็งปอดเกิดจากอะไรสาเหตุที่ทำให้เกิดก็มาจากปัจจัยภายนอกของร่างกาย มะเร็งปอดเป็นโรคที่เราป้องกันได้ตั้งแต่ต้นไม่ใช่โรคตามกรรมเวรอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากเรามีโอกาสหยุดบุหรี่เมื่อใด จะเป็นมะเร็งปอดน้อยลงซึ่งการเป็นมะเร็งปอดในระยะแรกๆ ก็มักจะไม่มีอาการภายนอกแสดงให้เห็น และจะพบว่ามีอาการภายนอกให้เห็นแล้วก็มักจะเป็นระยะท้ายๆ แล้ว ดังนั้นเราจึงควรจะมีหน่วยงานหรือศูนย์มะเร็งแห่งชาติที่เข้าช่วยทำหน้าที่มา ดูแลผู้ป่วยในระยะขึ้นสุดท้าย ส่วนการสูบบุหรี่ทางอ้อม หรือผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อยู่ในบริเวณซึ่งได้รับควันบุหรี่ ผลที่ตามมา คือ ควันที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็ง โดยควันที่ผู้ไม่สูบบุหรี่สูดเข้าไปจะมีส่วนประกอบเหมือนกับผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไป แต่จะมีปริมาณ N-nitrosamine สูงกว่าและยังมีสารอื่นๆที่มีขนาดเล็กกว่าที่มีเหลืออยู่ในอากาศซึ่งผ่านเข้า bronchial tubeได้ง่ายกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า 1 ใน 3 ของมะเร็งปอดพบในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่ นพ. อาคม ให้ข้อมูลอีกว่า ผู้ที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค คลัช ฉนวนความร้อน อุตสาหกรรมสิ่งทอ เหมืองแร่ ซึ่งมีแร่แอสเบสตอสปะปนอยู่ โดยเฉพาะช่างก่อสร้าง ช่างกล จะเป็นผู้ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด โดยระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสฝุ่นแอสเบสตอสสจนเป็นมะเร็งปอด อาจใช้เวลา 15-35 ปี ผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอส ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไป 5 เท่า ผู้ที่สูบบุหรี่และทำงานกับฝุ่นแร่แอสเบสตอสด้วยแล้วจะเสี่ยงต่อมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง90 เท่า นอกจากนี้ยังมีอาชีพอื่น ๆอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องสัมผัสกับผู้ที่สูบบุหรี่เป็นจำนวนมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง เช่น ผู้หญิงที่ทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ พนักงานเก็บเงิน หรือสัมผัสกับสารก่อมะเร็งอื่น ๆ เช่น ช่างทาสี ระยะเริ่มแรกของโรคไม่มีอาการใดใดที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมะเร็งปอด แต่อาจพบอาการไอเรื้อรัง ลักษณะไอแห้ง ๆ นานกว่าธรรมดา บางครั้งมีเสมหะ หรือมีเลือดออกเป็นเพียงสาย ๆ ติดปนกับเสมหะออกมา น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ชีดอ่อนเพลีย ปอดอักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไม่มาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทำให้โอกาสที่รักษาหายลดน้อยลง “สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่มานานแล้วยังไม่พบว่าเป็นมะเร็งปอดก็มิใช่ว่าจะไม่เป็นมะเร็งปอดในวันข้างหน้าเพราะที่คุณยังไม่เป็นในวันนั้นก็เนื่องจากร่างกายของคุณยังแข็งแรงดีอยู่แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่ง ร่างกายคุณอ่อนแอลงแล้วคุณยังสูบบุหรี่อยู่ อาการมะเร็งปอดจะสำแดงให้เห็นและเมื่ออายุยิ่งมากขึ้น เปอร์เซ็นต์โอกาสการรอดชีวิตก็ยิ่งมีน้อยลง” นพ.อาคมกล่าวย้ำ ทั้งนี้ การวินิจฉัยมะเร็งปอดสามารถทำได้หลาย ๆ ทาง บางรายอาจตรวจพบได้ในขณะที่มีการตรวจร่างกายเป็นประจำแต่ไม่มีอาการแสดง หรือบางรายอาจมีอาการและอาการแสดงมาเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนมาแล้ว ดังนั้นจึงควรทำการสอบถามแพทย์ เมื่อพบว่ามีอาการต่าง ๆเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารและน้ำหนักลดเสียงแหบ เสียงห้าว ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด หายใจลำบาก ปวด เป็นปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ หน้าและคอบวม นิ้วมือบิด ผิดรูป เช่นปลายนิ้วบวมเป็นรูปสี่เหลี่ยมก็ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรกเพราะเป็นอาการสัญญาณอัตรายการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ ส่วนการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาด ชนิด และระยะของก้อนมะเร็งนั้น และสุขภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญแพทย์จะตัดสินใจว่าการรักษาแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุดนั่นคือ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่ำที่สุดและให้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปการรักษามะเร็งปอดมีวิธีการหลัก ๆ อยู่ คือ การผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยา เคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ผลการรักษาในปัจจุบันยังได้ผลไม่ดีเท่ามะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งปากมดลูก ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกัน ร่วมมือกันทุกคน โดยให้ความรู้ในเรื่องชองมะเร็งปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มสูบบุหรี่ตั้งแต่อายุ 13-14 ปี ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตสูงจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่

ท่านที่อยากเลิกสูบบุหรี่...อ่านข้อความนี้
















กลยุทธ์และเทคนิคการเลิกสูบบุหรี่
การเลิกบุหรี่ของข้าพเจ้า ใช้วิธีการที่ไม่ยาก แทบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ใด ๆ เลยแต่ ขอให้มีกำลังใจและจิตใจที่เข้มแข็ง สถานที่และกิจกรรมต่างๆข้าพเจ้าได้ตั้งมั่นว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าทำเพื่อตนเองนั้นต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุด จึงได้เลือกแบบวิธีหักดิบหรือหยุดแบบทันทีทันใดแบบไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆหรือเหตุผลอื่นมาประกอบให้มากมายเพราะเมื่อจิตใจของข้าพเจ้าพร้อมก็เริ่มปฏิบัติทันที ตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าเริ่มทำการเลิกบุหรี่ก็ไม่ได้มีผลกระทบในการทำงานมากนัก มีบ้างในช่วงแรกหงุดหงิดบ้าง แต่ก็ได้รับกำลังใจที่ดีจากเพื่อนร่วมงานและครอบครัว แม้แต่เพื่อนๆที่เคยสูบบุหรี่ด้วยกันก็แสดงความยินดีกับการตัดสินใจของข้าพเจ้า เขาไม่รู้สึกรังเกียจหรือรู้สึกไม่ดีที่เราปฏิเสธต่อการหยิบยื่น
กลยุทธ์และเทคนิค1. ถ่วงเวลา เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือ จุดบุหรี่ เมื่อผ่านไป 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา 2. หายใจลึกๆ ช้าๆ หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3 - 4 ครั้ง ดื่มน้ำ ค่อยๆจิบน้ำ และ อมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ เปลี่ยนอิริยาบถ อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูง 3. เพียงมวนเดียวก็ผลร้าย ขอให้ใจแข็ง การกลับไปสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียวจะเป็นผลทำให้กลับไปสูบใหม่ เราต้องต่อสู้กับความอยากให้ได้ การเลิกสูบบุหรี่ คือ การต่อสู้กับความอยาก แม้กระทั่งบุหรี่เพียงมวนเดียว และต่อสู้กับจิตใจของเราเอง 4. อดเป็นวันๆไป พยายามตั้งใจให้วันผ่านไปโดยไม่สูบบุหรี่ เราจำบุหรี่มวนแรกของเราได้ไหม บางทีอาจจะทำให้เราเวียนหัวไม่สบาย ก็ได้ 5. ทำดีต่อร่างกายของเราให้ปรับสภาพได้โดยไม่ต้องมีนิโคติน เครื่องดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มประเภทโคล่า เหล่านี้มีคาเฟอีน แต่ไม่มีนิโคติน การที่ไม่มีนิโคตินทำให้ร่างกายดูดซึมคาเฟอีน เข้าไปมากกว่าธรรมดา ทำให้กระวนกระวายและนอนไม่หลับ พยายามดื่มกาแฟให้น้อยลง หรือ ให้อ่อนลงหรือดื่มเครื่องดื่มคล้ายกาแฟ น้ำเปล่า น้ำผลไม้ 6. เตือนสติตัวเอง เอาเหตุผลที่เลิกบุหรี่ที่เคยจดไว้ออกมาดู และคิดถึงสิ่งที่อยากทำให้ฐานะผู้ไม่สูบบุหรี่ ปฏิเสธบุหรี่จากผู้อื่น อย่าเกรงใจเมื่อผู้อื่นให้บุหรี่ และมีสิทธิปฏิเสธบุหรี่โดยไม่ทำให้ใครเดือนร้อน

การติดและวิธีการเลิกบุหรี่
















การติดและวิธีการเลิกบุหรี่
การติดบุหรี่เป็นการติด 2 ทางร่วมกันคือ 1. การติดทางร่างกาย 2. การติดทางจิตใจ
การติดทางร่างกายคือการที่ร่างกายติดสารนิโคติน เกิดจากการสูบบุหรี่อยู่เป็นประจำจนร่างกายติดสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดที่อยู่ในบุหรี่ เมื่อหยุดสูบบุหรี่สารนิโคตินในร่างกายจะลดลงทำให้เกิดอาการขาดนิโคตินได้แก่ อาการหงุดหงิด กระวนกระวาย คิดอะไรไม่ออก ต้องหาบุหรี่มาสูบเพื่อเติมนิโคตินให้เพียงพอดังเดิม เมื่อหยุดสูบบุหรี่ภาวะเสพติดทางร่างกายจะค่อยๆหายไปในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดังนั้นถ้าเราสามารถทนหยุดสูบบุหรี่ได้เพียง 2-3 สัปดาห์ ร่างกายของเราก็จะพ้นจากภาวะติดบุหรี่
การติดทางจิตใจคือการสูบบุหรี่จนติดเป็นนิสัย เกิดจากการเรียนรู้ว่าการสูบบุหรี่ทำให้หายเครียด เพลิดเพลิน หายเบื่อ สมองแล่น ทำให้เกิดการติดอกติดใจอยากสูบเรื่อยๆจนติดเป็นนิสัยหรือเป็นความเคยชินอย่างหนึ่ง เมื่อไรที่รู้สึกเครียดหรือเบื่อๆก็จะคิดถึงบุหรี่ ภาวะเสพติดทางจิตใจเป็นสาเหตุสำคัญ ของการกลับมาสูบใหม่หลังจากเลิกได้แล้ว ดังนั้นผู้ที่พยายามเลิกสูบบุหรี่และผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้แล้วยังต้องปฏิบัติตนเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ต่อไปเรื่อยๆจนเกิดเป็น"นิสัย"หรือเป็นความเคยชินอันใหม่ที่ไม่มีการสูบบุหรี่

9 วิธีเลิกบุหรี่
















9 วิธีเลิกบุหรี่
นอกเหนือจากเรื่องงาน, ครอบครัว หรือว่าเรื่องความรักแล้ว ยังมีเรื่องจุกจิกอีกมากมาย ที่บ่อนทำลายความสุขสร้างความเครียดให้ และหนึ่งในนั้น รวมถึงความเครียดที่เกิดจากบุหรี่ด้วย ดูเผินๆ มันไม่น่าทำให้คุณเครียดสักเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดถึงความจริงแล้ว มันเป็นตัวการใหญ่ จะเรียกว่าเป็นบ่อเกิดของความเครียดเลยก็ว่าได้ผลเสียของความเครียดอันเกิดมาจากบุหรี่ มักจะตกอยู่ที่ร่างกายเสียมากกว่า คุณคงไม่ลืมหรอกนะ ว่าในบุหรี่มีปีศาจร้ายแฝงตัวอยู่ด้วยปีศาจร้ายที่ว่าคือสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่มีผลทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย แถมยังสร้างความอลหม่านให้ร่างกาย ด้วยการรับหน้าที่เป็นตัวเร่งอัตราการเต้นของชีพจร และเพิ่มความดันในเลือดอีกด้วยผู้ร้ายอีกตัวหนึ่งที่ร่วมสร้างความปั่นป่วน ก็คือ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ที่มีอยู่ในควันบุหรี่ ซึ่งกลายเป็นตัวลดระดับออกซิเจนในเลือดไปโดยปริยาย หัวใจก็เลยต้องทำงานหนักกว่าเดิม เพราะมีออกซิเจนน้อยลงนอกจากนี้ บุหรี่ยังทำให้เส้นเลือดแดงผิดปกติ เนื่องจากเกิดการรวมตัวกันระหว่างก็าซพิษในบุหรี่และเลือด ซึ่งมีผลกระทบตอ่หัวใจและปอดอย่างรุนแรง จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมคนสูบบุหรี่มากๆ โรคภัยจึงถามหาเป็นที่รู้อยู่แล้วว่า บุหรี่เป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่ง ถึงจะไม่ร้ายแรงเหมือนกับยาบ้าหรือเฮโรอีน แต่โทษของมันก็อย่างที่เห็นแหละครับ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย มันเป็นผลร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและต้องใช้เวลาอันที่จริง การสูบบุรี่ทำให้เกิดความเครียดอยู่เป็นทุนแล้ว แต่การคิดเลิกกลับเป็นเรื่องที่เครียดยิ่งกว่าถ้าคุณเป็นคนหนึ่ง ที่คิดจะเขี่ยบุหรี่ออกไปให้ไกลจากชีวิตแล้วหล่ะก็ ก่อนอื่นต้องถามตัวเองให้แน่ใจก่อน ว่าอยากเลิกจริงๆ หรือเปล่าถ้าคำตอบคือจริง ก็ถือว่าคุณเริ่มต้นได้สวย เพราะทุกอย่างเป็นไปได้เสมอหากคุณมีความตั้งใจจริงหลังจากนั้นให้คิดเสมอว่า การสูบบุหรี่ทำให้คุณต้องเสี่ยงตายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ส่วนขั้นต่อไปจะทำอย่างไร คุณสามารถเลือกได้จาก 9 วิธีต่อไปนี้ครับ1.เชื่อมั่นตัวเอง ว่าการเลิกบุหรี่เป็นการพิสูจน์ตนเองที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง2.เปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่รู้ตัวดีว่าอดบุหรี่ไม่ได้ อย่างการสังสรรค์กับเพื่อนฝูงในวงเหล้า ถ้าอยากเลิกจริงๆ อย่าใจอ่อนเด็ดขาด พยายามอดใจสัก 2-3 อาทิตย์ รับรองว่าได้ผลแน่ครับ3.ผ่านไปวันหนึ่งๆ ถ้าคุณสามารถอดไม่สูบบุหรี่ได้ ก็น่าให้รางวัลกับตัวเองบ้าง และถ้าเลิกได้เป็นการถาวร ก็อย่าลืมหาของขวัญชิ้นใหญ่ให้ตัวเองอีกชิ้น เพื่อเป็นกำลังใจในความตั้งใจของตนเอง4.หาสติ๊กเกอร์หรือป้ายที่เขียนไว้ว่า "ห้ามสุบบุหรี่" หรือ NO SMOKING" มาติดไว้ในที่ที่คุณสูบบุหรี่เป็นประจำ อย่างในออฟฟิศ หรือไม่ก็ที่บ้านตามห้องนั่งเล่น, ห้องนอน, ห้องครัว หรือว่าห้องน้ำ ไว้เป็นเครื่องเตือนใจ5.หากิจกรรมอย่างอื่นมาทำแทนการสูบบุหรี่ สิ่งที่หามาทำน่าจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้มือทำ อย่างเช่น วาดรูป, ปลูกต้นไม้, ถ่ายรูป หรือเล่นกีฬา คุณจะได้ไม่มีเวลามานั่งนึกถึงมัน6.อย่าไปกังวลว่าจะอ้วนขึ้นเหมือนกับคนอื่นๆ ที่เลิกบุหรี่แล้วอ้วนขึ้น แต่เชื่อเถอะว่าคุณจะไม่อ้วนขึ้นกว่าเดิมแน่นอน ถ้ารู้จักกินให้พอประมาณ ไม่มากเกินไป เวลาที่อยากบุหรี่อาจทำให้รู้สึกหิว ก็สาามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการกินแต่อาหารหรือขนมที่มีอคลอรี่ต่ำๆ อย่างผักหรือผลไม้ รับรองว่าไม่อ้วนแน่7.บอกตัวเองว่าเงินที่เก็บสะสมได้ทั้งหมดนั้น ได้มากจากการไม่สูบบุหรี่8.บอกตัวเองเสมอว่า อาการไข้หวัดจะลดน้อยลง และสุขภาพต้องดีขึ้นแน่ ถ้าเลิกสูบบุหรี่9.ย้ำกับตัวเองอีกครั้ง ว่าร่างกายจะแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิมถ้าเลิกสูบบุหรี่ ไม่เชื่อลองวิ่งดูก็ได้ คุณจะรู้สึกว่าวิ่งเร็วขึ้นกว่าเดิม แถมยังไม่เหนื่อยหอบเวลาเดินขึ้นบันไดอีกด้วยวิธีปฏิบัติและคำแนะนำเหล่านี้ คืออีกแนวทางหนึ่งสำหรับคนที่คิดอยากจะเลิกสูบบุหรี่ทุกคน การจะเลิกสูบบุหรี่ ไม่ต้องมาหาเหตุผลประกอบ ว่าต้องทำเพื่อลูกหรือว่าทำใครทั้งนั้นแหละครับ ทำเพื่อตัวเองและรักตัวเองนั่นแหละคือสิ่งที่ดีที่สุดครับ

8 วิธีเลิกบุหรี่
































8 วิธีเลิกบุหรี่
การเลิกบุหรี่ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หรือด้วยกระบวนการทางการแพทย์ สามารถช่วยอาการติดแบบ Psysical Addiction ได้ แต่สำหรับ Habit แล้ว ต้องอาศัยกำลังใจความเข้มแข็ง และความตั้งใจจริง ถ้าหากคุณเป็นผู้หนึ่ง ที่คิดจะเลิกบุหรี่ในวันงดบุหรี่โลก หรือวันไหนก็แล้วแต่ ที่ถือเป็นวันดีสำหรับคุณลองมาปฏิบัติตามข้อแนะนำต่อไปนี้ เพราะมันจะช่วยให้คุณ ไม่หวนกลับมาหาบุหรี่อีกเลย1. ทิ้งบุหรี่ที่คุณมีอยู่ให้หมด หาให้ทั่วว่าคุณอาจจะซุกซ่อนบุหรี่ของคุณเอาไว้ที่ไหน ในกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกง เสื้อแจ็คเก็ต ลินชักโต๊ะทำงานโยนทิ้งไม่ให้เหลือแม้กระทั่งมวนเดียว ไม่ว่ามันจะมีราคาแพงแค่ไหนก็อย่าเสียดายเป็นอันขาด2. ที่เขี่ยบุหรี่ก็ทิ้งไปเสียด้วย กรณีที่เสียดายเพราะมันเป็นเครื่องตกแต่งราคาแพง อาจจะยกให้คนอื่นไปเสีย หรือนำไปเก็บไว้ในที่ ๆ คุณแน่ใจว่า จะไม่มองเห็นหรือหยิบออกมาได้โดยง่าย3. เปลี่ยนทรงผม จะได้ดูว่า เรากำลังจะเป็นคนใหม่4. ทำความสะอาดบ้านและเครื่องเรือนทั้งหมด รวมทั้งเสื้อผ้าก็นำมาซักให้สะอาด ให้กลิ่นบุหรี่หมดไป จริงอยู่คนสูบบุหรี่จะไม่ได้กลิ่นเหล่านี้หรอก เพราะความเคยชิน แต่เมื่อเลิกแล้ว คุณจะได้กลิ่นของมัน5. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เพราะมันจะช่วยชำระล้าง Nocotine ออกจากร่างกาย และยังช่วยบรรเทาอาการอยากบุหรี่ได้ด้วย6. ลดปริมาณสาร Caffeine ที่รับประทานในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นชาหรือกาแฟก็ตาม โดยก่อนการเลิกบุหรี่ ควรจะพยายามลดปริมาณสารนี้ให้ได้ประมาณครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทานในแต่ละวัน เพราะ Nicotine ทำให้ caffeine ซึมเข้าร่างกายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถ้าหากคุณรับประทาน Caffeine ในปริมาณเท่าเดิม ขณะที่สูบบุหรี่ อาจจะนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า Caffeine Toxicity โดยมีอาการ กระวนกระวายและเครียดได้ แลtนั่นอาจจะทำให้คุณหันกลับไปสูบบุหรี่อีกครั้ง7. ออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เราเอาใจออกห่างจากบุหรี่ได้ด้วย8. หาเพื่อนที่มีความต้องการจะเลิกบุหรี่ด้วยกันสักคน แล้วเลิกพร้อมกันเพื่อที่จะได้เป็นที่ปรึกษา คอยเตือนและคอยให้กำลังใจกัน หรืออาจจะเป็นการหาแรงบันดาลใจอื่น เช่น เลิกเพื่อลูก เลิกเพื่อบิดามารดา หรือคนรักก็ได้หวังว่าทุกท่าน ที่ตั้งใจแน่วแน่ คงเลิกบุหรี่ได้นะครับ โดย นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์